คลื่นความถี่ 5G
คลื่นความถี่ 5G ไม่เพียงกำลังเป็นที่รู้จักในแง่ของคุณสมบัติการบริการสื่อสารคมนาคมที่ล้ำสมัย แต่ยังเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิตอลของภาคอุตสาหกรรม การบริหารคลื่นความถี่ และกฎระเบียบมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดบริการบนคลื่นความถี่ 5G สร้างความมั่นใจในความพร้อมของคลื่นความถี่ที่ทันท่วงทีภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ตลาดระบบไร้สายสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและอุตสาหกรรมได้
เอกสารแสดงจุดยืนฉบับนี้นำเสนอดุลยพินิจและคำแนะนำของ หัวเว่ย ในเรื่องคลื่นความถี่ 5G และระเบียบข้อบังคับที่ส่งผลกระทบต่อการจัดสรรคลื่นความถี่
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดยืนในเรื่องคลื่นความถี่ 5G ของเรา
ดาวน์โหลด [PDF, 443KB]
คลื่นความถี่ 5G สำหรับการใช้งานในช่วงแรก
ผู้กำหนดนโยบายและหน่วยงานกำกับดูแล แนะนำให้ประสานการจัดสรรคลื่นความถี่ 5G
- คลื่นความถี่ในช่วงแรกของ Sub-6GHz สำหรับการใช้งาน 5G: คลื่นความถี่ต่อเนื่องอย่างน้อย 100 MHz ต่อเครือข่ายจากย่าน 3300-3800 MHz และ 4400-5000 MHz
- คลื่นความถี่สูงสำหรับการใช้งานในช่วงแรกของ 5G: คลื่นความถี่ต่อเนื่องอย่างน้อย 800 MHz ต่อเครือข่ายจากย่าน 24.25-29.5 GHz และ 37-43.5 GHz
- การใช้งานความถี่ต่ำ (เช่น 700, 800, 900, 1800 และ 2100 MHz) รวมกับ C-band (การร่วมใช้สเปกตรัมอัปลิงก์ LTE/NR) ควรได้รับอนุญาต
นโยบายและระเบียบข้อบังคับสำหรับ 5G
- การออกใบอนุญาตให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวทั่วประเทศคือรูปแบบการอนุญาตที่ต้องการสำหรับ 5G
- การกำหนดคลื่นความถี่ใหม่ควรใช้เทคโนโลยีและเป็นกลางในการให้บริการ
การทำงานในอนาคต
- การพัฒนา L-band และคลื่นความถี่ 470-694/698 MHz ในย่าน UHF ในระดับภูมิภาคควรได้รับการดำเนินการ
- แนวโน้มการหลอมรวมของอุตสาหกรรมควรได้รับการพิจารณาเมื่อกำหนดการวางแผนคลื่นความถี่ในระยะยาว
- เป้าหมายสำคัญของการประชุม WRC-19 คือการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับ IMT ที่สูงกว่า 24.25 GHz ให้ตรงกัน