การวิจัยและพัฒนา

การวิจัยและพัฒนา

หัวเว่ย ยังคงให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ด้าน ICT อย่างเข้มงวด เพื่อสร้างโลกแห่งการเชื่อมต่อที่ดีกว่า เรายังคงเดินหน้าทุ่มเทลงทุนในด้านเทคโนโลยีที่สำคัญ ความสามารถด้านวิศวกรรมพื้นฐาน สถาปัตยกรรมเครือข่าย มาตรฐานด้านเทคนิค และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เรามีเป้าหมายที่จะสร้างเสริมประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดีขึ้นโดยการให้บริการฐานข้อมูลที่ทั้งกว้าง อัจฉริยะ และเสถียรยิ่งขึ้น ด้วยประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นและไม่ต้องรอ

เรามุ่งมั่นที่จะแปลงเทคโนโลยีชั้นนำให้เป็นผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่ดีกว่าและแข่งขันได้มากกว่า ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าของเราประสบความสำเร็จ

ระบบเครือข่ายไร้สาย: ในปี 2559 หัวเว่ย ประสบความสำเร็จดังนี้:

  • เพื่อสอดรับกับกลยุทธ์ All Cloud ของเรา เราได้ออกโซลูชั่นโมบายคลาวด์ CloudRAN และ CloudAIR แบบครบวงจร: CloudRAN มีการออกแบบระบบเครือข่ายไร้สายใหม่ด้วยสถาปัตยกรรมคลาวด์ และ CloudAIR มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ทรัพยากรการเชื่อมต่อทางอากาศใหม่ทั้งหมด
  • ประกาศแนวคิด 4.5G Evolution และพัฒนา LTE เพิ่มเติม โดยอาศัยความคิดเห็นในแวดวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับ 4.5G และจำนวนที่เพิ่มขึ้นของเครือข่ายเชิงพาณิชย์ 4.5 ปรับใช้เทคโนโลยี Massive MIMO ของเราซึ่งเป็นเทคโนโลยี 5G ที่สำคัญในวงกว้างบนเครือข่าย 4G ที่มีอยู่
  • ออกชิปเซ็ต NB-IoT ชุดแรกของวงการอุตสาหกรรม โมดูลการสื่อสาร NB-IoT ชุดแรก และรุ่นเพื่อการพาณิชย์ชุดสำหรับสถานีพื้นฐาน NB-IoT ที่สำเร็จทั้งหมดนี้ได้ช่วยเสริมระบบนิเวศ NBIoT ที่เกิดใหม่
  • ออกเวอร์ชัน 2.0 ของโซลูชั่น WTTx ซึ่งมีความสามารถของฐานข้อมูลที่มากขึ้น การหลอมรวมกันของการสื่อสารแบบไร้สายและแบบมีสาย การทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการสนับสนุนนวัตกรรมบริการที่มากยิ่งขึ้น
  • ออกโซลูชั่นดิจิตอลภายในอาคาร LampSite 3.0 โซลูชั่นนี้เป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญที่ช่วยแก้ไขปัญหาติดขัดของ RF ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมมาหลายปี โดยช่วยเปิดทางสู่โมเดลแบบ Neutral Host ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานภายในอาคารเดียวกันสามารถแบ่งปันโดยผู้ให้บริการหลายๆ รายได้

ระบบเครือข่ายผู้ให้บริการและองค์กร: หัวเว่ย ได้ประกาศกลยุทธ์ All Cloud เพื่อช่วยเหลือผู้ให้บริการ องค์กร และอุตสาหกรรมในการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิตอลด้วยการปรับปรุงให้เครือข่ายสามารถเข้าถึงได้ในทุกที่ ขับเคลื่อนด้วยประสบการณ์ มีความรวดเร็ว เป็นแบบตามความต้องการ และมีบรอดแบนด์ความเร็วสูงพิเศษ

สำหรับตลาดโทรคมนาคม เราได้:

  • ออกโซลูชั่น Flex-PON ชั้นนำซึ่งจะขจัดปัญหาต่างๆ เพื่อเปลี่ยนไปสู่การเข้าถึงระดับกิกะบิตอย่างราบรื่น
  • เปิดตัว PID ของเรา ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนของเครือข่าย WDM และขจัดปัญหาต่างๆ ของแบนด์วิดท์ความเร็วสูงพิเศษที่ต้องใช้กับบริการวิดีโอ
  • ออกระบบคลัสเตอร์เราเตอร์ NE5000E 2+8 แบบ 128 เทระบิตต่อวินาที ซึ่งสามารถจัดการปริมาณการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้นในทันทีบนเครือข่ายหลัก และให้การเชื่อมต่อถึงกันด้วยความเร็วสูงของศูนย์
  • ออกโซลูชั่น VideoSense ซึ่งช่วยให้ผู้ให้บริการเสนอบริการวิดีโอแบบภาพที่จัดการง่ายพร้อมประสบการณ์ที่มีการรับประกัน

สำหรับลูกค้าระดับอุตสาหกรรม/องค์กร เราบรรลุผลสำเร็จดังต่อไปนี้:

  • โซลูชั่น CloudCampus ของเราใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในการจัดการเครือข่ายมหาวิทยาลัยบนระบบคลาวด์ตลอดช่วงอายุการใช้งาน
  • โซลูชั่น CloudEPN ของเราช่วยในการเชื่อมต่อองค์กรกับหน่วยงานสาขา และช่วยส่งมอบบริการที่เพิ่มมูลค่าได้อย่างรวดเร็ว
  • เราได้อัปเกรดโซลูชั่น CloudFabric ของเราสำหรับเครือข่าย DC ด้วยระบบวิเคราะห์อัจฉริยะที่ใช้ Big Data โซลูชั่นที่อัปเกรดแล้วนี้สามารถค้นหาความผิดพลาดในเครือข่ายได้ภายในไม่กี่นาที

ผู้ให้บริการและองค์กร/อุตสาหกรรมทั้งหมดกำลังรีบเร่งสร้างจุดแข็งที่พวกเขาจำเป็นต้องมีเพื่อแข่งขันกันในยุคของระบบคลาวด์ ด้วยเหตุนี้ หัวเว่ย จึงออก Agile Controller ซึ่งเป็นตัวควบคุม SDN แบบรวมตัวแรกของวงการอุตสาหกรรม ที่สามารถจัดการสถานการณ์ต่างๆ ของลูกค้า โดยช่วยให้ลูกค้าสร้างเครือข่าย All Cloud ที่รวดเร็วตามความต้องการ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จในธุรกิจของตน

ซอฟต์แวร์: เรามุ่งเน้นที่การสร้างแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ดิจิตอลโดยกำเนิดที่แข่งขันได้ โดยเฉพาะ:

  • เราได้ออกแพลตฟอร์มวิดีโอที่มีการผสานรวมกันอย่างเป็นทางการและเริ่มการส่งมอบแก่ทั่วโลก แพลตฟอร์มนี้ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมคลาวด์ ความสามารถสูง/ประสิทธิภาพสูง การทำงานและการบำรุงรักษาที่รวดเร็ว พร้อมทั้งสนับสนุนประสบการณ์วิดีโอ 4K ที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ
  • ขณะนี้ โซลูชั่นการเรียกเก็บเงินของเราสนับสนุนการส่งมอบชุดเพิ่มเติม การพัฒนาเวอร์ชันมาตรฐานอย่างราบรื่น และ 5 แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการปรับใช้คลาวด์ รวมถึงระบบคลาวด์ CDR และระบบคลาวด์การเรียกเก็บเงิน โดยมอบประสิทธิภาพในการดำเนินการเรียกเก็บเงินที่ดีที่สุด และสนับสนุน API แบบเปิดรวมถึงสถานการณ์การเปิดรับทั้ง 6 ประเภท
  • ในงาน Global Mobile Broadband Forum ที่จัดขึ้นที่โตเกียวในเดือนพฤศจิกายน 2559 หัวเว่ย ได้ประกาศแผนงาน Wireless X Labs ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อรวมกลุ่มผู้ให้บริการ

ผู้ให้บริการเทคโนโลยี และคู่ค้าในอุตสาหกรรมตามแนวตั้ง เพื่อร่วมกันสำรวจกรณีการใช้งานในอนาคตของแอปพลิเคชันมือถือ ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านธุรกิจและเทคโนโลยี และส่งเสริมระบบนิเวศอุตสาหกรรมแบบเปิด

  • เราได้พัฒนากลยุทธ์ชุดแพลตฟอร์มของเราเพิ่มเติมเพื่อเปิดโอกาสให้นักพัฒนาบุคคลที่สามสามารถนำเสนอแอปพลิเคชันในฐานะผู้ให้บริการจัดส่ง (DSV) และนวัตกรรมแพลตฟอร์มแบบเปิดของเราได้รับผลตอบรับที่ดีจากทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม

ระบบเครือข่ายส่วนกลางคลาวด์: หัวเว่ย ยังคงทุ่มเทในการให้บริการการเชื่อมต่อและการสื่อสารที่ครบวงจรแก่เครือข่ายการรับส่งข้อมูล และให้การเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน Upper-layer ผ่านการควบคุมประสบการณ์ใช้งานที่แตกต่างกัน

โดยเฉพาะ เราได้:

  • ออกโซลูชั่น CaaS 2.0 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแบบรวมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อเปิดรับความสามารถในการสื่อสารของเรา รวมถึงเสียงและวิดีโอแบบเรียลไทม์ ฟังก์ชันฐานข้อมูล และฟังก์ชันข้อมูลผู้ใช้ โซลูชั่นนี้มอบความสามารถของเครือข่ายในรูปแบบของบริการสำหรับแอปพลิเคชันในอุตสาหกรรมต่างๆ
  • ประกาศระบบนิเวศแพลตฟอร์มแบบเปิด OceanConnect ด้วยแพลตฟอร์มการจัดการการเชื่อมต่อ IoT ที่เป็นหัวใจสำคัญ ระบบนิเวศนี้รวบรวมแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่ยอดเยี่ยมมากมาย
  • พัฒนาแนวคิดของเครือข่าย Big Video ซึ่งสนับสนุนบริการวิดีโอแบบผสานรวมสำหรับการสื่อสารและแอปพลิเคชันอุตสาหกรรมข้ามเครือข่ายและพื้นที่ภูมิศาสตร์
  • ออก TE10 ซึ่งเป็นบริการปลายทางการประชุมผ่านจอภาพบนระบบคลาวด์ซึ่งรวม "หกไว้ในหนึ่งเดียว" ครั้งแรกของโลก ด้วยการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มคลาวด์ได้หลากหลาย TE10 จึงให้บริการวิดีโอสำหรับธุรกิจทุกประเภท
  • เปิดตัวต้นแบบเครือข่ายแยกส่วน 5G ที่ครบวงจรเป็นครั้งแรกของโลกและทดสอบเทคโนโลยีการแยกส่วนหลายบริการ
  • ออกโซลูชั่น Multi-access Edge Computing (MEC) ที่รองรับอนาคตเป็นครั้งแรกในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งมีเวลาแฝงในการส่งข้อมูลบนเครือข่ายต่ำและมอบประสบการณ์บริการที่ดีกว่า

ระบบพลังงานเครือข่าย: ด้วยการปฏิบัติตามหลักการมองไปสู่อนาคตในการใช้ซิลิคอนแทนทองแดงและใช้บิตเพื่อจัดการวัตต์ เราได้ผสมผสานการวิจัยพื้นฐานในด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลังเข้ากับเทคโนโลยี ICT พร้อมทั้งมอบผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่แข่งขันได้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะ:

  • เรายังคงขยายความสามารถด้านประสิทธิภาพของแหล่งจ่ายไฟฟ้าของเราอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาโซลูชั่นระบบจ่ายไฟสถานีฐานอัจฉริยะเพื่อช่วยลูกค้าลดต้นทุน O&M
  • สำหรับ DC คลาวด์ขนาดใหญ่และแอปพลิเคชันองค์กรที่มีความเชื่อถือได้สูง เราได้ออกโมดูล UPS ที่มีประสิทธิภาพถึง 97.5% และความหนาแน่นของกำลังไฟฟ้า 50 kVA/3U ซึ่งสามารถสนับสนุนระบบ กริดไฟฟ้าที่มีอยู่ได้ทุกประเภท
  • เราได้พัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (PV) และอัลกอริทึมควบคุมระบบกริด รวมทั้งเปิดบริการโซลูชั่น PV อัจฉริยะ 3.0 ซึ่งมีประสิทธิภาพแบบครบวงจรที่ดียิ่งขึ้นและความสามารถที่เพิ่มขึ้นในการส่งกระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำ

ในด้าน IT หัวเว่ย ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านแอปพลิเคชันระบบคลาวด์ในหลายๆ ลักษณะ เราได้ให้บริการเซิร์ฟเวอร์ชั้นนำ อุปกรณ์เก็บข้อมูล เครือข่าย และโครงสร้างพื้นฐาน IT อื่นๆ แก่ลูกค้า และช่วยลูกค้าในการสร้างโซลูชั่นการประมวลผลประสิทธิภาพสูง ซึ่งทั้งมีประสิทธิผล มีความเร็วเพิ่มขึ้น และมีการทำงานร่วมกัน

ในด้านการประมวลผลบนระบบคลาวด์ เราบรรลุผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง ดังนี้:

  • ในด้านระบบคลาวด์สาธารณะ เราได้พัฒนาจุดแข็งเฉพาะตัวที่แข่งขันได้ เราได้เพิ่มความสามารถ IOPS ของบริการจัดเก็บข้อมูลแบบบล็อคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้อยู่ในระดับแนวหน้าของวงการอุตสาหกรรม และได้ออกเซิร์ฟเวอร์ Baremetal เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบบล็อคที่ติดตั้งและการส่งมอบบริการแก่ลูกค้าหลังผ่านการตรวจสอบโดยอัตโนมัติ
  • ในด้านระบบคลาวด์ส่วนตัว เรายังคงอยู่ในตำแหน่งผู้นำในด้านประสิทธิภาพของ SPECvirt และกลไก DR การจำลองโฮสต์ของเราให้ประสิทธิภาพการทำงานของ Recovery Point Objective (RPO) ระดับที่สองที่เป็นเลิศ
  • ในด้าน NFV สวิตซ์ซอฟต์แวร์ของเราคืออันดับ 1 ในด้านประสิทธิภาพการส่งต่อ โดยให้ความเชื่อถือได้ของคอมพิวเตอร์เสมือนในระดับผู้ให้บริการ ซึ่งช่วยให้มีการตรวจจับความเสียหายและการปกป้องสวิตช์ภายในไม่กี่วินาทีในกรณีที่เกิดความเสียหายบนคอมพิวเตอร์เสมือนหรือเครื่องจริง
  • ในด้านไฮบริดคลาวด์ เราได้ออกโซลูชั่นไฮบริดคลาวด์ชั้นเยี่ยมของอุตสาหกรรม ซึ่งรองรับ OpenStack API มาตรฐาน โดยให้ผลดีกว่าโซลูชั่นอื่นๆ ในแง่ของการเชื่อมต่อระหว่างระบบคลาวด์อัตโนมัติและการแบ่งปันอิมเมจข้ามระบบคลาวด์ต่างชนิดกัน
  • ในด้านพื้นที่จัดเก็บข้อมูล เราบรรลุผลสำเร็จดังต่อไปนี้:
  • ในด้านพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรธุรกิจ เราได้ออก OceanStor V3 ซึ่งเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ได้เปรียบในการแข่งขันมากที่สุดในอุตสาหกรรมในเวอร์ชันที่ปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น เพื่อรองรับการสลับแบบแอคทีฟ-แอคทีฟของ SAN/NAS แฟลชไดร์ฟทุกประเภท รวมถึงการลดขนาดของข้อมูลและการบีบอัดข้อมูล นอกจากนี้ เรายังได้เริ่มต้นที่จะออกอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลระดับเริ่มต้นที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งใช้ CPU ที่ หัวเว่ย ผลิตขึ้นเอง เนื่องจากลูกค้าจำนวนมากทั่วโลกทำการอัปเกรดฮาร์ดดิสก์เชิงกลเป็น Solid State Drive (SSD) อย่างต่อเนื่อง เราจึงได้ออก Dorado V3 ซึ่งเป็นระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัยและเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในด้านความสามารถในการส่งได้ถึง 150,000 IOPS
  • ในด้านพื้นที่เก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ เราได้ออก OceanStor 9000 ซึ่งเป็นโซลูชั่นวิดีโอ HD เพื่อรองรับระบบการผลิตวิดีโอ 4K HD ในอนาคต ตามแนวคิดของ Software Defined Storage (SDS) เราได้ออก FusionStorage 6.0 ซึ่งเป็นโซลูชั่นสำหรับองค์กรธุรกิจครั้งแรกของวงการอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ผสานรวมกันทั้งบล็อคแบบกระจาย ไฟล์ และออบเจ็กต์ โซลูชั่นนี้ช่วยให้เข้าถึงและจัดเก็บข้อมูลที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง และกึ่งมีโครงสร้างข้ามแพลตฟอร์มต่างๆ ได้
  • นอกจากนี้ เรายังได้เริ่มเปลี่ยนจากการจำหน่ายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเป็นการเสนอบริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูล และได้เปิดบริการโซลูชั่น Storage as a Service (STaaS) ซึ่งเป็นโซลูชั่นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลครั้งแรกของวงการอุตสาหกรรมที่มีส่วนของข้อมูลและการควบคุมแบบรวมสำหรับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขององค์กร พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบกระจาย พื้นที่เก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ และมีการผสานพื้นที่จัดเก็บข้อมูลกับแอปพลิเคชันอย่างชาญฉลาด ด้วยโซลูชั่นนี้ เราได้ก่อตั้ง OpenSDS Industry Alliance ซึ่งรวบรวมผู้ให้บริการชั้นนำมากกว่า 10 รายและลูกค้าจากทั่วโลก

Big Data: เราได้ผสานเทคโนโลยีหลายๆ อย่างที่สำคัญลงใน FusionInsight ของเรา เช่น SQL แบบรวม, การค้นหาแบบรวม, การรองรับผู้ใช้งานหลายราย, สภาพแวดล้อมแบบผสมขนาดใหญ่, การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์สตรีมข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะในภาคส่วนโทรคมนาคม การเงิน และความปลอดภัย ด้วยการใช้เอ็นจินการตั้งกำหนดเวลาที่ยอดเยี่ยม โซลูชั่น FusionInsight จึงรองรับการทำงานในระดับองค์กรแบบหลายผู้ใช้งานในสภาพแวดล้อมแบบผสมขนาดใหญ่ การวิเคราะห์การสตรีมข้อมูลแบบเรียลไทม์ของ FusionInsight หมายความว่าเป็นครั้งแรกที่การควบคุมความเสี่ยงทางการเงินสามารถแสดงผลแบบเรียลไทม์แทนการแสดงผลย้อนหลัง นอกจากนี้ โดยอาศัยแนวทางปฏิบัติทางอุตสาหกรรมที่มีอยู่ เราได้สร้าง Apache CarbonData ซึ่งเป็นรูปแบบไฟล์ Hadoop โดยกำเนิดแบบใหม่ที่ให้การวิเคราะห์แบบหลายมิติในระดับสุดยอดบนแพลตฟอร์ม Big Data เรายังได้พัฒนาเอ็นจิน ELK ที่มอบประสบการณ์แบบอินเทอร์แอคทีฟที่ดีที่สุด

ในด้านเซิร์ฟเวอร์ เราบรรลุผลสำเร็จดังต่อไปนี้:

  • เราได้เปิดตัวกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ KunLun ที่งาน CeBIT 2016 ด้วยการมุ่งเน้นที่แอปพลิเคชันองค์กรที่สำคัญต่อภารกิจ เซิร์ฟเวอร์ KunLun ของเราจึงเป็นความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมซึ่งช่วยปูทางไปสู่การประมวลผลบนสถาปัตยกรรมแบบเปิด เซิร์ฟเวอร์นี้ผสานชิป NC ที่ หัวเว่ย ผลิตขึ้น, RAS, การออกแบบที่เปิดโล่ง และนวัตกรรมเทคโนโลยีอื่นๆ
  • ES3000 V3 NVMe PCIe SSD (หรือเรียกสั้นๆ ว่า ES3000 SSD) ใช้ชิปที่ หัวเว่ย ผลิตขึ้นและอินเตอร์เฟซ PCIe มาตรฐาน พร้อมทั้งสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของฐานข้อมูลและบริการคลาวด์สำหรับองค์กรธุรกิจให้ดีขึ้นอย่างมาก เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานที่เป็นเลิศ จึงได้รับรางวัล Best Internet Technology Innovation ที่งาน Global Technology Innovation Conference ในปี 2559
  • โซลูชั่น FusionCube ได้ขยายความสามารถจากการใช้งานในฐานข้อมูลเดียวเป็นแอปพลิเคชัน DC บนระบบคลาวด์บริการแบบเต็มรูปแบบ
  • ด้วยการทำงานร่วมกับผู้จัดจำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) ชั้นนำ เราได้สร้างสรรค์นวัตกรรมการทำงานร่วมกันในหลายๆ ด้าน อาทิ HPC และ SAP เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม HPC ที่สมบูรณ์แบบและมีประสิทธิภาพสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ

หัวเว่ย ยังคงเดินหน้าลงทุนเพิ่มขึ้นในด้านการวิจัยพื้นฐานและการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มองไปสู่อนาคต และประสบความสำเร็จในการก้าวข้ามขีดกำจัดต่างๆ ด้าน ICT เป้าหมายของเราคือการขับเคลื่อนให้เกิดความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมและพัฒนาโมเดลทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จผ่านการค้นพบใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยี

การสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือระบบ 5G: หัวเว่ย ภายใต้การนำของ 3GPP ได้ส่งเสริมการวางมาตรฐาน 5G สากลที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เดินหน้าลงทุนในด้านการวิจัยเทคโนโลยี 5G และการสร้างสรรค์นวัตกรรม พร้อมทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเพื่อดำเนินการทดสอบการใช้งานเทคโนโลยี 5G ที่สำคัญในสถานที่จริง นอกจากนั้น เรายังบรรลุผลลัพธ์ที่สำคัญต่างๆ ในด้านการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีใหม่ๆ สถาปัตยกรรมเครือข่าย และการทำงานร่วมกันกับผู้ที่มีบทบาทในอุตสาหกรรม ความก้าวหน้าเหล่านี้ช่วยให้เรายังคงอยู่ในตำแหน่งผู้นำในอุตสาหกรรมต่อไป

โดยเฉพาะ เราได้:

  • เสนอความเร็วสูงพิเศษถึง 70 Gbit /s ผ่านช่วงความถี่ในหน่วยมิลลิเมตรโดยใช้เทคโนโลยี MIMO
  • เป็นบริษัทแห่งแรกที่ออกโซลูชั่น CloudRAN ที่รองรับ 5G ซึ่งใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในการสร้างสถาปัตยกรรมระบบเครือข่ายไร้สายใหม่
  • ถ่ายทอดสดการสาธิตเทคโนโลยีแยกส่วนเครือข่าย 5G ที่ครบวงจรเป็นครั้งแรกในวงการอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนกรณีการใช้งาน 5G ที่หลากหลาย
  • เดินหน้าเสริมสร้างความร่วมมือกับ 5G-PPP, 5GIC, 5GVIA, IMT-2020 และพันธมิตรอุตสาหกรรมอื่นๆ ตลอดจนก่อตั้ง 5GAA ร่วมกับบริษัทคู่ค้าชั้นนำมากมาย เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนามาตรฐานแบบรวมสำหรับยานยนต์ที่มีการเชื่อมต่อ

ในด้านการวิจัยเทคโนโลยีเครือข่าย เราได้:

  • ออกโซลูชั่นเครือข่ายที่รองรับ VR เป็นครั้งแรกในวงการอุตสาหกรรม โซลูชั่นนี้ผสานรวมเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งให้โครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่ไม่มีการบล็อค มีเวลาแฝงเชิงกำหนดต่ำ และมีปริมาณการรับส่งสูง เพื่อขจัดปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากบริการวิดีโอ VR ออนไลน์ในอนาคต
  • ประกาศสถาปัตยกรรมเราเตอร์แบบกระจายที่ล้ำสมัย ซึ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับการประมวลผลบนระบบคลาวด์และเครือข่ายคลาวด์ เราเตอร์นี้ใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อออปติกและสถาปัตยกรรมแบบกล่องพิซซ่า ซึ่งให้ความสามารถของระบบขนาดใหญ่เป็นพิเศษถึง 10 Pbit/s
  • เราเตอร์ดังกล่าวสามารถนำไปปรับใช้ในหลากหลายสถานการณ์ รวมถึงขอบเครือข่าย โหนดหลัก หรือในเครือข่าย DC ในด้านการวิจัยทฤษฎีเครือข่าย เราได้:
  • เสนอแนวคิดของเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วยแอปพลิเคชัน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างสถาปัตยกรรมเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้เครือข่ายสามารถตอบสนองได้ดียิ่งขึ้นต่อความต้องการที่หลากหลายซึ่งจะเกิดขึ้นจากแอปพลิเคชันบริการใหม่ๆ ในอนาคต
  • ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโมเดล ทฤษฎี และอัลกอริทึมในด้านการใช้ข้อมูล การควบคุมเครือข่าย และการตรวจวัดเครือข่าย
  • เผยแพร่เอกสารสรุปแนวคิด สร้างสถาปัตยกรรมต้นแบบ และบรรลุผลลัพธ์ที่น่าทึ่งในการตรวจวัดที่มีประสิทธิภาพสูง ท้ายที่สุดเราได้กำหนดเครือข่ายเป้าหมายที่ขับเคลื่อนด้วยแอปพลิเคชันตามทฤษฎี ซึ่งมีการควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ และจะช่วยตอบสนองความต้องการต่างๆ ในโลกยุคดิจิตอลที่กำลังจะมาถึง ในการพัฒนา DC หัวเว่ย ได้เพิ่มประสิทธิภาพสถาปัตยกรรมของต้นแบบ DC 3.0 อย่างต่อเนื่อง และปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมให้ดีขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะ เราได้:
  • ออกโซลูชั่น TPCx-BB อันดับ 1 ของวงการอุตสาหกรรม และเป็นผู้นำในการร่างมาตรฐานการทดสอบพลังงานสากลสำหรับการวัดเปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐานของ Big Data
  • ออกซีรีส์ของโมเดลต่างๆ และแพลตฟอร์มการจำลองขนานแบบขยายตามแนวราบสำหรับการใช้งานแอปพลิเคชัน ICT ทั่วไป
  • พัฒนาระบบไฟล์ NVM ระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี NVM สถาปัตยกรรม DC 3.0 ช่วยเปิดทางสู่นวัตกรรมสถาปัตยกรรมที่สำคัญ รวมถึงซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ สำหรับ DC ในอนาคต หัวเว่ย กำลังจะนำเสนอโซลูชั่น DC ที่คุ้มค่าและรักษาสิ่งแวดล้อมพร้อมด้วยประสิทธิภาพการทำงานระดับแนวหน้าของโลกแก่ลูกค้า
  • การวิจัยเครือข่ายออปติก: หัวเว่ย ได้เสนอ Optical Network 2.0 สำหรับยุค All Cloud และได้ประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีที่สำคัญในด้านการส่งสัญญาณแบบออปติก โดยเฉพาะ เราได้:
  • ออกต้นแบบ OXC แบบ 320 Tbit/s ซึ่งเป็นความสามารถของ Cross-Connect ที่มากที่สุดในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาติดขัดด้านความสามารถที่เกิดขึ้นจาก Digital Cross-Connect ในเครือข่ายออปติก
  • เปิดตัวชิป OXC ที่ทำจากซิลิคอนทั้งหมดเป็นครั้งแรกในวงการอุตสาหกรรม พร้อมด้วยพอร์ต 32x32 ซึ่งมีการบริโภคพลังงานต่ำและสวิทชิ่งสัญญาณแบบรวดเร็ว
  • ประกาศต้นแบบระบบส่งสัญญาณแบบโคฮีเรนท์ Silicon Photonics 4 พอร์ต ซึ่งสามารถรองรับการส่งสัญญาณในระดับ Tbit/s Optical Network 2.0 ของ หัวเว่ย มีเป้าหมายเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าโดยให้แบนด์วิดท์ความเร็วสูงพิเศษ เวลาแฝงต่ำมาก ประสิทธิภาพด้านพลังงานที่สูงเป็นพิเศษ การส่งมอบบริการแก่ลูกค้าอย่างรวดเร็วหลังผ่านการตรวจสอบ รวมถึงการทำงานและการบำรุงรักษาเกี่ยวกับระบบ IT

ปัญญาประดิษฐ์ (AI): หัวเว่ย ได้ให้ความสำคัญกับธุรกิจเชิงกลยุทธ์ ปรับปรุงประสิทธิภาพการส่งมอบและคุณภาพบริการของทีม Global Technical Service (GTS) ให้ดีขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี AI และตระหนักถึงการตรวจจับและการป้องกันความเสียหายในเครือข่ายล่วงหน้า ความพยายามทั้งหมดนี้ได้ช่วยเราในการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จของเราประกอบด้วย:

  • ระบบประมวลผลสตรีมเรียลไทม์แบบกระจาย StreamSMART และอัลกอริทึมการเรียนรู้ออนไลน์ StreamMBT ช่วยให้ GTS ให้บริการลูกค้าด้วยระบบอัจฉริยะ โดยทำให้ความแม่นยำในการจำแนกประเภทความเสียหายอัตโนมัติเพิ่มขึ้นมากกว่า 85% และสามารถครอบคลุมได้ถึง 90% ของสถานการณ์ความผิดปกติทั้งหมด
  • Network Mind ของเราใช้การเรียนรู้แบบเสริมกำลัง ซึ่งช่วยให้ตั้งกำหนดเวลาการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายได้ดียิ่งขึ้น และปรับปรุงประสิทธิภาพการส่งข้อมูลข้ามแอปพลิเคชันให้ดีขึ้น 40%
  • สมาร์ทโฟนในซีรีส์ Honor ของเราสามารถส่งมอบบริการส่วนบุคคลด้วยระบบอัจฉริยะและช่วยอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือในการเข้าสู่ยุค AI
  • เอ็นจิ้นคำแนะนำของ หัวเว่ย สามารถสร้างโมเดลที่ถูกต้องได้ภายในไม่กี่นาที และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดาวน์โหลดแอปที่แนะนำถึง 40% ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ครั้งสำคัญ

แบตเตอรี: เรายังคงให้ความสำคัญกับ 3 คุณสมบัติ ซึ่งได้แก่ ความจุขนาดใหญ่ การชาร์จเร็ว และความปลอดภัย

โดยเฉพาะ เราได้:

  • นำเสนอเครื่องชาร์จเร็ว พลังไฟสูง 5V/8A พร้อมวัสดุอิเล็กโทรดใหม่ในสมาร์ทโฟนซีรีส์ Honor ของเรา ซึ่งสามารถชาร์จไฟได้มากกว่า 90% ในเวลาแค่ 30 นาที
  • เปิดตัวแบตเตอรีลิเธียมไอออน (Li-on) ที่ใช้สารแกรฟีนซึ่งทนความร้อนและมีอายุการใช้งานยาวนานเป็นครั้งแรกในวงการอุตสาหกรรม สิ่งที่เพิ่มเข้ามาเป็นพิเศษในอิเล็กโทรไลต์และเจือสารวัสดุอิเล็กโทรดช่วยให้แบตเตอรีลิเธียมไอออน (Li-ion) ยังคงใช้งานได้ แม้สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงกว่าขีดจำกัดในปัจจุบันของอุตสาหกรรมถึง 10°C ก็ตาม ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดในด้านการกักเก็บพลังงานของสถานีฐานโทรคมนาคมในสภาพอากาศที่อบอุ่น

หัวเว่ย ทำงานร่วมกับคู่ค้าทั่วโลกในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่สถาบันวิจัยและศูนย์วิจัยทั้ง 15 แห่งของเรา และศูนย์ความร่วมมือด้านนวัตกรรม 36 แห่งทั่วโลก

เพื่อก้าวไปสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในสถาบันวิจัยและศูนย์วิจัยทั้ง 15 แห่งของเราและศูนย์นวัตกรรมร่วม 36 แห่งทั่วโลก

ต่อไปนี้คือเรื่องราวสำคัญบางส่วนในปี 2559:

เพื่อศึกษาการพัฒนาและการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ในอุตสาหกรรม ICT โครงการวิจัยด้านนวัตกรรมของ หัวเว่ย (HIRP) ได้ให้ความสนับสนุนแก่แผนงานด้านนวัตกรรมและการวิจัยกว่า 200 แผนงาน รวมถึงการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเคมี

เราได้ทำงานร่วมกับนักคณิตศาสตร์จากทั่วโลก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลเหรียญฟิลด์ส (Fields Medal) และรางวัลวูล์ฟ (Wolf Prize) ในแผนงานต่างๆ ตั้งแต่ทฤษฎีคณิตศาสตร์พื้นฐานไปจนถึงคำถามสำคัญๆ เพื่อหาเหตุผลในการตัดสินใจโดยมีหลักการทางวิศวกรรมรองรับ เราได้ลงทุนอย่างมากในด้านการวิจัยเกี่ยวกับการประมวลผลภาพ การทำเหมืองข้อมูล การเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย และด้านที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ เรายังได้ประสานความร่วมมือกับนักฟิสิกส์ทั่วโลก (รวมถึงผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Prize) และทีมงานของบุคคลเหล่านี้) ในแผนงานวิจัยเกี่ยวกับระบบจัดเก็บข้อมูลและสื่อบันทึกข้อมูลในอนาคต เช่น วัสดุศาสตร์สำหรับสื่อบันทึกข้อมูลแบบใหม่ การสร้างโมเดลและการจำลององค์ประกอบ และการใช้งานโปรโตคอลการเชื่อมต่อหน่วยความจำแบบใหม่ นอกจากนี้ เรายังลดต้นทุนได้อย่างมากจากการใช้สื่อบันทึกข้อมูลแบบใหม่ในซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ พร้อมทั้งยืดอายุการใช้งานได้ยาวนาน ผลงานชิ้นนี้ได้ยกระดับชื่อเสียงงานวิจัยของ หัวเว่ย ในด้านระบบจัดเก็บข้อมูลในอนาคต

หัวเว่ย ทำงานร่วมกันในเชิงลึกอย่างต่อเนื่องกับมหาวิทยาลัยทั่วโลกในด้านต่างๆ อาทิ ฐานข้อมูล การบริโภคพลังงานของ DC และเทคโนโลยีแบบกระจาย ในปี 2559 เราได้แก้ไขปัญหาการตอบสนองที่ล่าช้าต่อการสืบค้นแบบขนานในสภาพแวดล้อม และ Big Data ที่มีทรัพยากรจำกัด

หัวเว่ย คือผู้มีบทบาทสำคัญต่อมาตรฐาน ICT เรามีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานสากลที่สำคัญ นอกจากนี้ เรายังเป็นสมาชิกสามัญในชุมชนโอเพนซอร์ส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและบ่มเพาะระบบนิเวศที่ส่งเสริมความสำเร็จร่วมกัน

ในปี 2559 เราได้:

  • มีส่วนร่วมในแผนงาน 5G, วิดีโอ, IoT และแผนงานอุตสาหกรรมที่สำคัญอื่นๆ รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือทางอุตสาหกรรมในวงกว้างระหว่างองค์กรอุตสาหกรรมต่างๆ
  • ทำงานร่วมกับคู่ค้าอุตสาหกรรมใน 3GPP เพื่อผลักดันมาตรฐาน 5G ที่เป็นหนึ่งเดียวกันทั่วโลก ใน IETF เรามุ่งมั่นทุ่มเทอย่างมากในการสนับสนุนการพัฒนามาตรฐาน IP และระบบนิเวศ IP ที่สมบูรณ์
  • ใน IEEE เราให้ความสำคัญกับการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีพื้นฐานของ Wi-Fi และอีเธอร์เน็ต และเดินหน้าสู่การจัดตั้งสถาบันวิจัยในด้านอุตสาหกรรมตามแนวตั้ง ใน ETSI และ ITU เราช่วยผลักดันการยกระดับอุตสาหกรรมให้เร็วขึ้นโดยการเป็นผู้นำการพัฒนามาตรฐานเทคโนโลยีของผู้ให้บริการ และรณรงค์ให้มีการออกผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความหลากหลายมากขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมระบบไร้สาย
  • เราร่วมมือกับคู่ค้าอุตสาหกรรมในการก่อตั้ง Green Computing Consortium, ECC, 5GAA, OPRC และพันธมิตรอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อรวบรวมความคิดเห็นในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ และขยายขนาดของตลาดเท่าที่เป็นไปได้
  • ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง GSMA และ OPRC รวมทั้งช่วยเหลือในการจัดตั้งคณะทำงานด้าน Digital Maturity Model and Metrics (DMMM) ภายใน TM Forum เพื่อหารือถึงเป้าหมายในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิตอลของผู้ให้บริการ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านธุรกิจเป็นตัวชี้วัด
  • ในฐานะสมาชิกของ Industrial Internet Consortium (IIC) เราวิเคราะห์ความต้องการและสถานการณ์การนำไปใช้งานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิตอลของอุตสาหกรรมตามแนวตั้ง
  • ใน Broadband Forum (BBF) เราส่งเสริมการจัดตั้ง Open Broadband Initiative (OBI) และปรับปรุงความคิดเห็นในแวดวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการหลอมรวม PON และการเข้าถึงข้อมูลบนเครือข่ายที่ง่ายขึ้น ซึ่งนำไปสู่สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นและครอบคลุมมากขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมเครือข่าย
  • สนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนโอเพนซอร์ส องค์กรมาตรฐาน และพันธมิตรอุตสาหกรรม รวมถึง ETSI NFV, OPNFV, OpenStack และ OPEN-O ทำงานร่วมกับคู่ค้าในการจัดตั้งพันธมิตร NFV Interoperability Testing Initiative (NFV-ITI) เพื่อเร่งความเร็วในการพัฒนาต่อยอด NFV ในเชิงพาณิชย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 หัวเว่ย ได้ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร 57,632 รายการในประเทศจีนและอีก 39,613 รายการนอกประเทศจีน โดยได้รับสิทธิบัตรรวมทั้งสิ้น 62,519 รายการ

ณ วันที่่ 31 ธันวาคม 2559 หัวเว่ย เป็นสมาชิกขององค์กรมาตรฐาน พันธมิตรอุตสาหกรรม และชุมชนโอเพนซอร์สมากกว่า 360 แห่ง และดำรงตำแหน่งหน้าที่ภายในองค์กรเหล่านี้กว่า 300 ตำแหน่ง หัวเว่ย เป็นสมาชิกคณะกรรมการของ IEEE-SA, BBF, ETSI, TM Forum, WFA, WWRF, OpenStack, Linaro, OPNFV และ CCSA ในปี 2559 เราเสนอแผนงานต่อองค์กรมาตรฐานกว่า 6,000 แผน (รวมมากกว่า 49,000 แผนในปัจจุบัน) หัวเว่ย ลงทุนด้าน R&D กว่า 10% ของรายได้ทั้งหมดเป็นประจำทุกปีมาโดยตลอด ในปี 2559 พนักงานประมาณ 80,000 คนมีส่วนร่วมใน R&D ซึ่งคิดเป็น 45% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดของเรา ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ของ หัวเว่ย คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 76,391 ล้านหยวนในปี 2559 ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ 14.6% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เราได้ลงทุนด้าน R&D ไปแล้วกว่า 313,000 ล้านหยวน