Analysys Mason และส่วนเผยแพร่งานวิจัยหัวเว่ย เน้นความโดดเด่นของการทำระบบดิจิตอลเพื่อเป็นการปรับโฉมการทำงาน

2018.01.09

งานวิจัยแสดงให้เห็นถึงเหตุผลที่จำเป็นต้องมีโมเดลใหม่สำหรับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานแห่งอนาคต

[เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2561] งานวิจัยที่เผยแพร่ล่าสุดของ Analysys Mason ด้วยความร่วมมือกับหัวเว่ย เรื่อง ‘ระบบดิจิตอลปรับโฉมการทำงาน: โมเดลใหม่เชิงปฏิบัติงานแบบดิจิตอลถือเป็นพื้นฐานในการเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ ตลอดจนถึงวิธีการย่อมถือเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อคงโมเดลเชิงปฏิบัติงานแบบใหม่ที่สามารถแข่งขันได้สำหรับสภาพแวดล้อมในอนาคต ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมต่างๆ (CSP) กำลังปรับโฉมการทำงานด้วยระบบดิจิตอลเพื่อเพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพการทำงานด้วยการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการปรับโฉมการทำงาน

ในการวิจัยนั้น Analysys Mason ได้ทำงานร่วมกับหัวเว่ยเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการที่ซอฟต์แวร์ใช้ในการเปลี่ยนแปลงโลกนี้ งานวิจัยได้ยกตัวอย่างความสำเร็จในการปรับโฉมการทำงานของ CSP ด้วยโมเดลเชิงปฏิบัติงานแบบใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ ซึ่งนำความสำเร็จในธุรกิจดิจิตอลในอุตสาหกรรมต่างๆ โมเดลเชิงปฏิบัติงานแบบใหม่จะต้องรองรับระบบอัตโนมัติระดับสูง เพื่อให้ระบบการทำงานอัตโนมัติตามที่คาดหมายไว้จะกลายเป็นความจริง โดยช่วยให้สามารถเตรียมใช้งาน CSP โดยอัตโนมัติและแก้ไขปัญหาคุณภาพด้านบริการก่อนที่จะเกิดขึ้น

งานวิจัยนี้อธิบายถึงประเด็นสำคัญหลายอย่างที่ครอบคลุมถึงการปรับปรุงพื้นฐานของโมเดลเชิงปฏิบัติงาน เหตุผลที่ CSP ต้องนำแนวคิดการปรับโฉมหลายด้านมาใช้ ความจำเป็นในการมีนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง ระบบนิเวศน์ และการทำงานที่ดี และกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จในการปรับโฉมการทำงานด้วยดิจิตอล จากการวิจัยครั้งใหญ่ในหลายอุตสาหกรรม งานตีพิมพ์อธิบายว่าโมเดลเชิงปฏิบัติงานในปัจจุบันเป็นตัวจำกัดความสามารถของ CSP อย่างมากในการปรับโฉมด้วยดิจิตอลให้สำเร็จและยังคงอยู่ได้ในยุคดิจิตอล อุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะต้องนำแนวคิดการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์มาปรับใช้ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือแห่งความสำเร็จในบริษัทดิจิตอลขนาดใหญ่ เช่น Uber, Google และ GE

Anil Rao ซึ่งเป็นหัวหน้านักวิเคราะห์ของ Analysys Mason และผู้เขียนงานวิจัยกล่าว “อุตสาหกรรมโทรคมนาคมมาถึงจุดพลิกผันที่สำคัญ ขณะที่เจ้าหน้าที่เริ่มทำการปรับโฉมด้วยดิจิตอลที่สำคัญโดยใช้ NFV/SDN, IoT และ 5G ซึ่งกำลังจะมาถึง โมเดลเชิงปฏิบัติงานและระบบเศรษฐกิจที่ใช้อยู่แพร่หลายนั้นถือเป็นตัวจำกัดมิให้พวกเขานำประโยชน์ของการเริ่มปรับโฉมเชิงกลยุทธ์เหล่านี้ได้สำเร็จ CSP ต้องการโมเดลเชิงปฏิบัติงานที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ที่รับรองอนาคต ที่มิใช่เพียงแต่รองรับเครือข่ายทางกายภาพ ณ วันนี้เท่านั้น แต่ยังสามารถปรับใช้ในฐานะการเปลี่ยนผ่านโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นเครือข่ายแบบไฮบริดและเสมือนจริง

“โมเดลเชิงปฏิบัติงานแบบใหม่จะต้องรองรับโดยกระบวนการเชิงปฏิบัติงานอัตโนมัติระดับสูง เปิดใช้งานโดยแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ปฏิบัติงานเชิงวิเคราะห์ และสนับสนุนโดยผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะด้านซอฟต์แวร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาระบบอัตโนมัติตามหน้าที่ประจำวันของตนเอง” Anil Rao กล่าวต่อ

นอกจากนี้งานวิจัยยังระบุถึงวิธีการใหม่ๆ สำหรับ CSP ในการปรับโฉม ไม่ว่าพวกเขาจะดำเนินการเองตามแนวคิด ‘Do It Yourself’ (DIY) หรือสร้างคู่ค้าตามระดับความพร้อมในข้อเสนอของผู้จำหน่ายและระดับการควบคุมและความเป็นเจ้าของที่ CSP ต้องการรักษาไว้ในองค์กรก็ตาม งานตีพิมพ์ดังกล่าวอธิบายถึงทางเลือกต่างๆ มากมาย เช่น บริการให้คำปรึกษาซึ่งเชื่อมั่นคู่ค้าในการปฏิบัติงาน ขึ้นอยู่กับข้อตกลงเกี่ยวกับระดับบริการที่ใช้แพลตฟอร์มการทำงานของคู่ค้า พร้อมด้วยคำปรึกษาและบริการวางระบบเพื่อเปลี่ยนระบบการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์

Analysys Mason สรุปงานวิจัยนี้ด้วยคำแนะนำที่สำคัญสำหรับ CSP รวมถึงวิธีการที่เขาควรเรียนรู้จากอุตสาหกรรมอื่น วางระบบปฏิบัติงานแบบอัตโนมัติ และโมเดลพันธมิตรที่ดีที่สุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงระบบ นอกจากนี้งานวิจัยดังกล่าวยังให้คำแนะนำเชิงลึกสำหรับผู้จำหน่ายเกี่ยวกับการพัฒนาโซลูชันต่างๆ สำหรับการปฏิบัติงานที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ เสนอโมเดลใหม่ๆ และวิธีแสดงวิสัยทัศน์ที่เข้มแข็งของระบบปฏิบัติงานที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์

สามารถดาวน์โหลดบทวิจัยได้จากลิงก์นี้:
http://carrier.huawei.com/~/media/CNBG/Downloads/Solutions/Operation-reconstruction/Research-Study-Analysys-Mason-Digitalization-Reshaping-Operations.pdf