หัวเว่ยคือสิ่งที่มีคุณค่า ไม่ใช่ภัยคุกคาม

ควรเฉลิมฉลองให้กับบริษัทของ เหริน เจิ้งเฟย ที่สามารถกำชัยชนะเหนือระบบการค้าโลกที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ

เหรินเจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของหัวเว่ย ที่เซินเจิ้น ประเทศจีน เมื่อวันที่ 15 มกราคม ภาพถ่ายโดยวินเซนท์ หยู สำนักข่าว AP

หนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลทางธุรกิจซึ่งสร้างแรงบันดาลใจมากที่สุดระดับโลกคือเหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้ง-นักปรัชญาของหัวเว่ย บริษัทอุปกรณ์โทรคมนาคมของประเทศจีนที่ถูกก่อกวนและถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักอยู่ในขณะนี้ ด้วยการถูกประณามว่าเป็นสายลับสอดแนมให้กับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน นายเหรินตัดสินใจที่จะเชื่อมั่นในกระบวนการทางกฎหมายของสหรัฐอเมริกาและเริ่มดำเนินการพิสูจน์ความจริงที่รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามโจมตีบริษัทและครอบครัวของเขา บุตรสาวของนายเหริน เมิ่ง หว่านโจว ประธานฝ่ายการเงินของหัวเว่ยกำลังต่อสู้กับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากประเทศแคนาดาไปยังสหรัฐอเมริกาเนื่องด้วยข้อกล่าวหาอย่างคลุมเครือว่า เธอให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงินต่างๆ ในการละเมิดมาตรการลงโทษคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯ โดยเธอถูกกักบริเวณให้อยู่ในบ้านพักที่แวนคูเวอร์ บริติชโคลัมเบีย ตั้งแต่เดือนธันวาคม2561ที่ผ่านมา


สหรัฐอเมริกากำลังจะเรียนรู้ที่จะไม่ประมาทต่อนายเหริน ทั้งนี้ ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา นายเหรินสามารถเปลี่ยนให้เงินจำนวนเทียบเท่า 3,000 ดอลลาร์สหรัฐมาเป็นผู้ชนะเลิศในธุรกิจอุปกรณ์โทรคมนาคมของประเทศจีนและเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ หัวเว่ยมีรายรับต่อปีอยู่ที่ หนึ่งแสนห้าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ($105 billion) ดำเนินธุรกิจใน 170 ประเทศและมีพนักงาน 180,000 คน ฝ่ายการเงินของบริษัทที่ดำเนินการโดย เมิ่ง หว่านโจวมีพนักงานหลายร้อยคนที่เป็นจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เคมบริดจ์ วอร์ตัน และเยล

ในสหรัฐอเมริกานั้น ผู้เชี่ยวชาญและคู่แข่งต่างๆ ที่รู้สึกวิตกกังวลได้ให้คำอธิบายและหลักฐานอ้างอิงมากมายถึงความเฟื่องฟูของหัวเว่ย โดยกล่าวว่านายเหรินเป็นอดีตนายทหารของกองทัพปลดแอกประชาชนที่ก่อตั้งบริษัทของเขามาเป็นม้าโทรจันเพื่อเจาะระบบและเป็นสายลับของฝ่ายคอมมิวนิสต์ โดยการเติบโตก้าวหน้าของหัวเว่ยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินอุดหนุนจำนวนมหาศาลและการขโมยทรัพย์สินทางปัญญา

อย่างไรก็ตาม อาชีพทหารของนายเหรินนั้นเป็นหน้าที่ประจำของเยาวชนชาวจีนและเน้นไปทางสายวิศวกรรม ในฐานะที่เป็นบุตรชายของ “นักทุนนิยมหัวเอียงขวา” นายเหรินได้เปิดบริษัทซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาบริษัทเอกชนเต็มรูปแบบแห่งแรกๆ ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเป็นผู้บุกเบิกแผนการถือครองหุ้นโดยพนักงานตามรูปแบบของสหรัฐอเมริกา หัวเว่ยประสบความสำเร็จด้วยสมรรถนะที่เหนือกว่ารัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่เคยครองอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศจีนมาก่อน ทั้งนี้ KPMG ผู้สอบบัญชีอิสระของหัวเว่ยรายงานว่า หัวเว่ยไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และยืนยันด้านโครงสร้างความเป็นเจ้าของหัวเว่ยว่า เป็นของเอกชนโดยมีพนักงานเป็นเจ้าของหุ้นจำนวน 98.6% และนายเหรินเป็นเจ้าของหุ้นอีก 1.4%

นายเหรินชื่นชมการเปิดกว้างให้พูดแสดงความคิดเห็นของคนอเมริกัน “ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศจีนได้ปิดตัวเองจากโลกภายนอกมาเป็นเวลานาน ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่ประเทศจีนจะแข็งแกร่ง” นายเหรินกล่าว “สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่เปิดกว้างที่สุดในโลกและดังนั้น จึงเป็นประเทศที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก” อีกทั้งยังชื่นชมนโยบายด้านการจัดการอุปทานของประธานาธิบดีทรัมป์ในการลดหย่อนภาษี โดยกล่าวว่า “ประโยชน์ต่างๆ จากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นสามารถชดเชยรายได้ที่สูญเสียไปได้”

ข้อเรียกร้องที่กล่าวหาหัวเว่ยบ่อยครั้งที่สุดคือการขโมย แต่บริษัทคู่แข่งด้านเทคโนโลยีจำเป็นต้องเลียนแบบซึ่งกันและกันอยู่แล้วและใช้ส่วนประกอบร่วมกันภายใต้มาตรฐานทางอุตสาหกรรมต่างๆ โดยกระตุ้นให้เกิดความเข้มงวดด้านทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2546 ผู้บุกเบิกเราต์เตอร์ (Router) ชาวอเมริกันของซิสโก้ (Cisco) ชนกับหัวเว่ยด้วยการฟ้องร้องอย่างใหญ่โต โดยกล่าวหาว่าบริษัทของนายเหรินได้คัดลอกรหัสซอฟต์แวร์ของซิสโก้ (Cisco) และละเมิดสิทธิบัตรของบริษัทจำนวนมาก ทั้งนี้ นายเหรินมองว่าการฟ้องร้องเป็นโอกาสให้เขาได้ประกาศถึงความเชื่อมั่นในกระบวนการทางกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และได้ส่งทีมทนายความรวมทั้งวิศวกรของหัวเว่ยไปยังรัฐเท็กซัสตะวันออกที่ห่างไกลเพื่อแก้ต่างให้บริษัท ซึ่งในท้ายที่สุดทั้งสองบริษัทสามารถระงับข้อพิพาทที่มีระหว่างกันได้

ในระยะเวลาหลายๆ ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ก่อตั้ง หัวเว่ยได้กลายเป็นผู้มีอิทธิพลสำคัญในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยจ่ายเงินค่าสิทธิให้กับบริษัท ควอลคอมม์ (Qualcomm) บริษัทผู้ผลิตชิปในสหรัฐฯ มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และเมื่อปีที่แล้ว หัวเว่ยได้ซื้อชิปมูลค่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากบริษัทอเมริกันหลายแห่ง เช่น อินเทล (Intel) และ บรอดคอม (Broadcom) เป็นต้น ปัจจุบัน ด้วยสิทธิบัตรจำนวนมากกว่า 2,300 ฉบับ หัวเว่ยเป็นผู้นำระดับโลกในด้านสถาปัตยกรรมไร้สายบรอดแบนด์ 5G รุ่นใหม่


และเป็นระบบพร้อมสรรพเพียงระบบเดียวที่สามารถทำการติดตั้งในเครือข่ายที่กำลังทำงานอยู่ (working network)

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ได้เริ่มหันกลับมาเรียกร้องการกระทำความผิดของหัวเว่ยโดยเฉพาะ โดยวกกลับไปหาข้อโต้แย้งทั่วไปมากขึ้นว่าสำหรับการประมูลของจีนนั้น กำหนดให้บริษัทต่างๆ ของจีนต้องร่วมมือกับหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ การประณามบริษัทต่าง ๆ ของจีนเพียงเพราะการเป็นคนจีนจะทำลายเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ระบบการค้าระหว่างประเทศและเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกของสหรัฐฯ ช่วยให้สหรัฐอเมริกาสามารถสร้างบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดของโลกสี่แห่งอันได้แก่ ไมโครซอฟท์ (Microsoft) อะเมซอน (Amazon) แอปเปิล (Apple) และกูเกิ้ล (Google) โดยบริษัทแต่ละแห่งได้ทำการจัดจ้างให้ประเทศจีนและประเทศไต้หวันผลิตสินค้าให้ด้วย

หากบริษัทโทรคมนาคมและบริษัทบริหารจัดการเครือข่ายต่าง ๆ ของสหรัฐฯ รู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับหัวเว่ย บริษัทเหล่านี้ควรขอดูรหัสแหล่งซอฟต์แวร์ของบริษัท หากผู้บริโภคตีความการอัพเกรดซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องว่าเป็นภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัว สหรัฐฯ ควรกำหนดบทบาทของการบริหารจัดการเรื่องเหล่านี้ให้กับบริษัทโทรคมนาคมต่างๆ ในประเทศ ผู้บุกเบิกด้านโทรคมนาคม ดาเนียล เบอร์นิงเจอร์ (Daniel Berninger) ได้เสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการบูรณภาพเครือข่ายทีมใหม่เพื่อลดความหวาดกลัวสำหรับการก่อวินาศกรรมหรือการหยุดทำงานอันเนื่องมาจากอุปกรณ์บกพร่อง รูปแบบของคณะกรรมการจะเป็นเหมือนคณะกรรมการความปลอดภัยทางการคมนาคมแห่งชาติซึ่งทำหน้าที่สอบสวนอุบัติเหตุของอากาศยาน

ด้วยกระแสข่าวที่ออกมาสม่ำเสมอโดยเป็นเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับการละเมิดข้อมูลและการเจาะ (Hack) ข้อมูลระหว่างประเทศ ผู้คนต่างรู้สึกกังวลมากขึ้นพอควรเกี่ยวกับการรักษาความเป็นส่วนตัวในอนาคต การเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่นคงปลอดภัยระดับชาติ การคลายความหวาดกลัวเหล่านี้คือจะต้องมีการพัฒนาสถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ตแบบใหม่ที่มั่นคงปลอดภัย และข่าวดีก็คือว่านักเทคโนโลยีต่างๆ ทั่วโลกกำลังทำการพัฒนาระบบดังกล่าวอยู่แล้วในขณะนี้

หัวเว่ยไม่ใช่ตัวปัญหา แต่เป็นโอกาสที่สหรัฐฯ จะฟื้นฟูเศรษฐกิจและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบดิจิทัลของตนเอง สหรัฐฯ ควรให้การยอมรับหัวเว่ยเป็นผู้มีชัยชนะเหนือระบบที่มีอเมริกาเป็นผู้นำแทนที่จะกดดันให้หัวเว่ยต้องกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทจีนที่หัวแข็งไม่อ่อนข้อซึ่งอยู่ได้โดยการพึ่งพาตนเอง

Link:https://www.wsj.com/articles/huawei-is-an-asset-not-a-threat-11558390913