หัวเว่ยส่งเทคโนโลยี FDD Dual-Band Massive MIMO ปล่อยสัญญาณเฉพาะพื้นที่ ในไทยสำเร็จ

พร้อมมอบประสบการณ์ LTE ระดับพรีเมียม ตอบสนองความต้องการในพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานหนาแน่นได้อย่างง่ายดาย
2019.11.22

กรุงเทพฯ ประเทศไทย, 22 พฤศจิกายน 2562 หัวเว่ยประสบความสำเร็จในการผนึกกำลังกับผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยในการดำเนินการใช้เครือข่าย FDD Dual-Band Massive MIMO เฉพาะพื้นที่ในกรุงเทพฯ อย่างสมบูรณ์เพื่อรองรับการใช้งานเชิงธุรกิจ  


โซลูชั่นนี้จะทำให้โมดูลบรอดแบนด์หนึ่งโมดูลสามารถรองรับเทคโนโลยี Massive MIMO และให้บริการบนคลื่นความถี่ 1.8 GHz และ 2.1 GHz โดยลดการใช้พื้นที่ในการติดตั้งเสาอากาศ และช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณมือถือปล่อยสัญญาณได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เครือข่าย LTE ที่มีอยู่เดิมมีความจุเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าตัว ความสำเร็จในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารที่ต้องการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี FDD กับตลาด 4G ในประเทศ

สำหรับธุรกิจโมบายล์บรอดแบนด์ (MBB) ประเทศไทยถือเป็นผู้นำในตลาดเกิดใหม่ หรือ ตลาดที่กำลังพัฒนาโดยเครือข่าย LTE ในประเทศไทยมีการพัฒนาศักยภาพอย่างสูง ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือยกระดับประสบการณ์รวมทั้งความพึงพอใจของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

การเติบโตอย่างรวดเร็วของบริการโมบายล์บรอดแบนด์ ทำให้การรับส่งสัญญาณ LTE พุ่งสูงขึ้น โดยการรับส่งสัญญาณ 4G ทั่วทั้งเครือข่ายเพิ่มขึ้นถึง 51% ในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือต้องเผชิญกับความกดดันในการเพิ่มประสิทธิภาพให้เพียงพอต่อความต้องการ จุดนี้เองส่งผลให้ผู้ให้บริการต้องหาวิธีใช้สถานีส่งสัญญาณและจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีอยู่ให้ได้เต็มศักยภาพ โดยในขณะเดียวกันต้องลดการดำเนินการที่สถานีส่งสัญญาณรวมถึงค่าบำรุงรักษาด้วยเช่นกัน

เทคโนโลยี FDD dual-band Massive MIMO คือทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยในการเสริมเพิ่มศักยภาพให้กับเครือข่าย รวมถึงพัฒนาคุณภาพในการให้บริการและประสบการณ์ผู้ใช้งาน  หากมองในภาพรวมตั้งแต่การตลาด การรับเรื่องร้องเรียน จนถึงการพัฒนาระบบเครือข่าย ถือได้ว่าเทคโนโลยี FDD dual-band Massive MIMO ช่วยให้เครือข่ายผู้ให้บริการคลื่นสัญญาณสามารถ ตอบสนองความต้องการที่สูงในบริเวณที่มีผู้ใช้งานหนาแน่นได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ เทคโนโลยีใหม่ยังรองรับการขยายตัวที่พร้อมปรับเปลี่ยนตามความต้องการ โดยเพิ่มความจุของเซลล์ได้ถึง 1.8 เท่า และความเร็วในการรับส่งสัญญาณในชั่วโมงเร่งด่วน (busy-hour speeds) ที่มีการใช้งานสูงได้ถึง 2.6 เท่าเมื่อเทียบกับ 4T6S ซึ่งเป็นโซลูชั่นเดิม ประสิทธิภาพที่สูงในระดับนี้ จะทำให้ผู้ให้บริการสามารถส่งสัญญาณได้มากกว่าความต้องการในบริเวณที่มีผู้ใช้หนาแน่นซึ่งมีการรับส่งสัญญาณเพิ่มสูงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

เทคโนโลยี Massive MIMO มีความจำเป็นสำหรับเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ต้องการเพิ่มและขยายสัญญาณให้ครอบคลุม และลดคลื่นรบกวนในระหว่างการพัฒนาไปเครือข่าย 5G โดยการเลือกและเข้าใช้สถานีส่งสัญญาณได้สะดวกเครื่องที่ใช้ในการปล่อยสัญญาณเฉพาะพื้นที่ครั้งนี้ เป็นโมดูล FDD dual-band Massive MIMO ชุดแรกของอุตสาหกรรม ซึ่งใช้ระดับสเป็คและการวางระบบที่ดีที่สุดของระบบ MIMO บนเครือข่าย FDD ที่มีขนาดใหญ่

ด้วยจำนวนของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากมาย รวมถึงการรายงานช่องสัญญาณที่แม่นยำ การตั้งเวลาโดยผู้ใช้ และการ precoding โดยผู้ใช้หลายราย เทคโนโลยี Massive MIMO ช่วยจัดสรรคลื่นความถี่รองรับการใช้งานจากผู้ใช้หลายรายพร้อมๆ กันได้ เท่ากับเป็นการเพิ่มความจุให้กับเซลล์ LTE เดิมถึงสามเท่า ซึ่งการใช้เทคโนโลยี 5G บนเครือข่าย LTE ที่มีอยู่เดิม ได้พิสูจน์แล้วว่าสามารถเสริมประสิทธิภาพในการให้บริการ และช่วยในการแก้ปัญหาความจุในพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ให้แก่ผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณ(โทรศัพท์)มือถือได้นอกจากนี้ โมดูล FDD dual-band Massive MIMO ยังช่วยให้การเปลี่ยนไปใช้คลื่นความถี่ 5G NR เป็นไปได้อย่างราบรื่นผ่าน การอัพเดตซอฟต์แวร์ อีกด้วย

ประเทศไทยถือเป็นผู้บุกเบิกด้านนวัตกรรม ในกลุ่มของตลาดเกิดใหม่ หรือ ตลาดที่กำลังพัฒนา รวมไปถึงเป็นประเทศที่พร้อมเปิดรับเทคโนโลยีล่าสุดของอุตสาหกรรมอยู่เสมอ ซึ่งการเริ่มใช้โซลูชั่น FDD dual-band massive MIMO เฉพาะพื้นที่ นับเป็นตัวอย่างที่ผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยขานรับแรงกดดันที่มาจากความต้องการความจุเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น และยังแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะค้นหานวัตกรรมสำหรับพัฒนาเครือข่าย 4G อีกด้วย

ในปี 2019 หัวเว่ยได้มอบโซลูชั่นต่าง ๆ ที่มีมูลค่าสูง อย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณมือถือในไทยสามารถแก้ไขปัญหาสัญญาณที่ไม่ครอบคลุม ความจุที่ไม่เพียงพอ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและการบำรุงรักษาที่สูง ในขณะเดียวกันก็เตรียมการสำหรับการเปลี่ยนไปสู่เครือข่าย 5G ด้วยต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO) ที่ต่ำลง

ดั่งเช่นที่ลูกค้าในประเทศไทยได้ให้ความเห็นไว้ว่า “ปัจจุบัน เครือข่ายบริการ 4G ยังโตอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาไปสู่ 5G ก็ใกล้เข้ามาทุกที ในจังหวะที่สำคัญเช่นนี้ เราจะเปิดรับนวัตกรรมใหม่เพื่อสร้างเครือข่าย 4G ที่มีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมทั้งพัฒนาประสบการณ์ผู้ใช้ และมองหาการพัฒนาไปสู่ 5G”