การเปิดรับ การทำงานร่วมกัน และความสำเร็จร่วมกัน

การเปิดรับ การทำงานร่วมกัน และความสำเร็จร่วมกัน

หัวเว่ย เชื่อมั่นในพลังของการสื่อสารแบบไร้พรมแดนเพื่อให้เราได้ทำงานใกล้ชิดกับผู้คนจากทั่วโลกมากขึ้น ด้วยการร่วมมือกับคู่ค้าของเรา เรากำลังทุ่มเทพยายามที่จะสร้างระบบนิเวศธุรกิจที่พึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน

การสร้างโลกแห่งการเชื่อมต่อที่ดีกว่า

วิสัยทัศน์ของ หัวเว่ย ในการสร้างโลกแห่งการเชื่อมต่อที่ดีกว่าคือสิ่งที่เรามอบให้แก่มนุษยชาติ โลกของเรากำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงจากโลกยุคดิจิตอลไปสู่โลกแห่งระบบอัจฉริยะ ในอดีต องค์กรในห่วงโซ่แห่งคุณค่าแบบดั้งเดิมจะสร้างความสามารถหลักโดยการเป็นเจ้าของและควบคุมทรัพยากรที่สำคัญ แต่เมื่ออุตสาหกรรมเกิดการหลอมรวมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป จุดแข็งที่มีอยู่ขององค์กรจึงไม่เพียงพอที่จะรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันเอาไว้ได้อีกต่อไป การใช้ทรัพยากรจากภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพจะกลายเป็นสิ่งที่สำคัญมากขึ้น และเพื่อให้ประสบความสำเร็จ องค์กรต่างๆ จึงต้องเปิดกว้างและยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งจะช่วยรองรับธุรกิจในอนาคตตามจุดแข็งที่ได้รับจากระบบนิเวศอุตสาหกรรม

ในยุคของระบบคลาวด์ ICT ได้เติบโตจากอุตสาหกรรมเดี่ยวไปสู่การเป็นเครื่องมือที่จำเป็นต่อการทำงาน ซึ่งช่วยเปิดทางสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิตอลของทุกอุตสาหกรรม การผสานรวมตามแนวตั้งในห่วงโซ่แห่งคุณค่าไม่ใช่ทางเลือกที่ประสบความสำเร็จอีกต่อไป และถึงเวลาแล้วที่อุตสาหกรรม ICT จะสร้างระบบนิเวศใหม่ให้แนบแน่นมากขึ้น หัวเว่ย มีเป้าหมายที่จะช่วยสร้างและเข้าร่วมในระบบนิเวศดังกล่าวที่เปิดกว้าง แข็งแกร่ง ยืดหยุ่น และก่อให้เกิดความเติบโต ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่จะช่วยให้ทุกอุตสาหกรรมประสบความสำเร็จเมื่อเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิตอล

ระบบนิเวศในภาคปฏิบัติ: แนวทางหลักสามประการ

เพราะให้ความสำคัญเป็นพิเศษในเรื่องของการเปิดรับ การทำงานร่วมกัน และความสำเร็จร่วมกัน หัวเว่ย จึงพร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาระบบนิเวศที่มีประสิทธิภาพของอุตสาหกรรม โดยมีแนวทางหลักสามประการ:

ประการแรก คือการเพิ่มส่วนแบ่งแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวช้อง การสร้างความเติบโตให้อุตสาหกรรมและการขยายตลาดให้ใหญ่ขึ้นเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งยวดกว่าการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดของเราเอง

ประการที่สอง คือความสำเร็จด้านความร่วมมือเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าความสำเร็จด้านการแข่งขัน หัวเว่ย จะไม่แข่งกับคู่ค้าของเราเองเพื่อผลกำไร และจะรักษาคำมั่นสัญญาระยะยาวในเรื่องของการเปิดรับ การทำงานร่วมกัน และความสำเร็จร่วมกัน

ประการที่สาม คือการได้รับประโยชน์ร่วมกัน ด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันนี้ หัวเว่ย มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมจุดแข็งของบุคลากรและบริษัทต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนในโลกอัจฉริยะที่กำลังจะมาถึง

หัวเว่ย สนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศโดยให้ความสำคัญกับการดำเนินการในภาคปฏิบัติ การจัดตั้งองค์กรอุตสาหกรรม และการมีส่วนร่วมในเรื่องดังกล่าวโดยตรง เราจัดตั้งพันธมิตรอุตสาหกรรมเพื่อสร้างความเติบโตให้อุตสาหกรรมร่วมกับคู่ค้าทางเทคโนโลยีของเรา เราจัดตั้งพันธมิตรทางธุรกิจเชิงกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จทางธุรกิจของลูกค้าทั่วโลก เราทำงานเชิงรุกกับชุมชนโอเพนซอร์สเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันและนวัตกรรม และเราลงทุนอย่างจริงจังในแพลตฟอร์มสนับสนุนสำหรับนักพัฒนา ในการริเริ่มทำสิ่งเหล่านี้ เรามีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มจำนวนผู้มีบทบาทที่จะร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นการนำความก้าวหน้ามาสู่ระบบนิเวศ ปูทางให้กับความสำเร็จของลูกค้าในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิตอล และเพิ่มรายได้จากโซลูชั่นเทคโนโลยีใหม่ๆ

การสลายพรมแดนและการแลกเปลี่ยนความคิด

การสร้างระบบนิเวศแบบเปิดจำเป็นต้องแลกเปลี่ยนความคิดกับโลกภายนอกอยู่เสมอ เพื่อการนี้ เรากำลังทำการลบข้อจำกัดทางองค์กรและความรู้ของเราอย่างเป็นรูปธรรม หัวเว่ย สร้างศูนย์ความเชี่ยวชาญ (COE) ตามแหล่งรวมทรัพยากรต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบวิจัยและพัฒนาในเชิงนวัตกรรมแบบเปิดกว้างยิ่งขึ้น ภายในศูนย์เหล่านี้ เราทำงานเชิงรุกร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก นักวิทยาศาสตร์ องค์กรระหว่างประเทศ และสมาคมอุตสาหกรรมต่างๆ การก้าวสู่นวัตกรรมเปิดของเราเกิดจากการสร้างความสามารถเชิงปริมาณโดยการก่อตั้งศูนย์รวมบุคลากร ตัวอย่างเช่น เราพัฒนาความสามารถหลักในฝั่งยุโรปซึ่งมีนวัตกรรม การออกแบบ การวิจัยพื้นฐาน การตลาด กระบวนการผลิตหลัก และแหล่งเงินทุนภายในแต่ละประเทศที่สามารถนำมาผนวกกับห่วงโซ่แห่งคุณค่าระดับสากลของ หัวเว่ย

ในเดือนมีนาคม ปี 2553 เราได้เปิดตัวโครงการวิจัยด้านนวัตกรรมของ หัวเว่ย (HIRP) ซึ่งให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยเชิงนวัตกรรมในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยระดับแนวหน้าทางเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสารที่เราร่วมเป็นพันธมิตรในการจัดการปัญหาสำคัญต่างๆ นับตั้งแต่ปลายปี 2559 มีผู้เข้าร่วม HIRP สองท่านซึ่งเป็นเจ้าของรางวัลโนเบล นักวิจัยมากกว่า 100 คนจากสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ (IEEE) และสมาคมคอมพิวเตอร์ระหว่างประเทศ (ACM) รวมทั้งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญนับพันคนจากทั่วโลก ทางโครงการมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกว่า 300 แห่งในมากกว่า 20 ประเทศ และสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยนวัตกรรมกว่า 1,200 โครงการ

ในโลกดิจิตอลแบบอัจฉริยะ หัวเว่ย มีความตั้งใจจะเป็น "ผู้สร้างความเจริญเติบโต" ให้แก่ระบบนิเวศ ICT ในหน้าที่นี้ เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนสภาพแวดล้อมแบบเปิดที่มีความหลากหลายและมีการพึ่งพาอาศัยกัน เพื่อจะเดินหน้าอุตสาหกรรมและส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมอย่างไม่หยุดยั้ง